published at:
1 ก.พ. 2566

จาก Terracotta สู่หลังคากักเก็บน้ำฝน

ในประเทศที่มีปัญหาความแห้งแล้งอย่างประเทศอิหร่าน การขาดแคลนน้ำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกช่วงฤดูกาล ดิน Terracotta จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ไปติดตามกันได้เลยค่ะ

ผู้คิดค้น

สถาปนิกจาก BM Design Studio ได้ใช้คุณสมบัติของอิฐและดินเผา ในออกแบบเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยการออกแบบอาคารเรียนที่มีจานดินเผาขนาดใหญ่บนหลังคารองรับน้ำฝน และกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่

terracotta disc school

หลักการทำงาน

อาคารเรียน โรงเรียนประถมที่มีห้องเรียน 6 ห้องตั้งอยู่ในเมือง Jiroft ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัด Kerman ในประเทศอิหร่าน ได้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นด้วย วัสดุดินเผาและอิฐ ตัวอาคารถูกก่อสร้างด้วยอิฐสองชั้น บนหลังคามีจานดินเผาขนาดใหญ่ในการรองรับน้ำฝน เพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ และส่งต่อไปยังบ่อเก็บน้ำฝน โดยผ่านช่องผนังอิฐสองชั้น ที่ก่อขึ้นมาระหว่างผนังอาคารให้มีช่องว่าง เพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องผนังอิฐ คุณสมบัติการดูดความชื้นของอิฐ จะกักเก็บความชื้นไว้ภายในผนังเมื่อน้ำไหลผ่าน และระเหยความเย็นสู่ภายในอาคารเรียน ช่วยลดความร้อนในอาคาร น้ำจะถูกส่งลงบ่อเก็บกักน้ำข้างอาคาร มีช่องหน้าต่างแคบเว้าลึกเข้าไป ลดแสงแดดเข้าในอาคาร กลไกการทำงานนี้ นอกจากช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้หมุนเวียนในโรงเรียน ทำให้ลดการใช้เครื่องปรับอากาศลง จึงช่วยลดการผลิตคาร์บอนจากเครื่องปรับอากาศอีกด้วย

terracotta disc school wireframe

ผลลัพธ์

จาการวิจัยงานออกแบบอาคารนี้ การเว้าของจานดินเผาบนหลังคาขนาด 923 ตารางเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 28 ลูกบาศก์เมตร โดยมีประสิทธิภาพประมาณ 60 % และจะมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ

yankodesign.com

worldarchitecture.org

archdaily.com

Share บทความไปที่