published at:
12 ก.พ. 2566

ป้อมอัครากับมหาราชาผู้มีรักแท้

นอกจากทัชมาฮาลที่เป็นวิหารแห่งรักแท้ของกษัตริย์ชาหะฮันที่มีต่อพระชายา ยังมีป้อมอัครา (Agra Fort) ที่ยืนยันความรักที่มั่นคงของพระองค์จนลมหายใจสุดท้าย

ความเป็นมาของป้อมปราการอันยิ่งใหญ่

เมื่อความกระหายอำนาจครอบงำจิตใจ นำมาซึ่งการแย่งชิงบัลลังก์ จึงเกิดเป็นป้อมปราการแห่งชัยชนะ ป้อมอัครา หอคอยกักขังพระบิดาผู้มีรักแท้ “กษัตริย์ชาห์ชะฮัน ผู้สร้างทัชมาฮาล ถูกพระโอรสองค์ที่ 4 โอรังเซป กักขังอยู่ในพระตำหนักหินอ่อน Shish Mahal และหอคอยแปดเหลี่ยม Musamman Burj ซึ่งเป็นมุมที่มองเห็น ทัชมาฮาลได้ดีที่สุด ถูกกักขังเป็นเวลา 8 ปี จึง สิ้นพระชนม์ พระองค์สิ้นพระชนม์ในท่ามองทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานความรักที่ทรงสร้างให้พระชายามุมตัชมาฮาล พระศพของพระองค์ถูกนำไปฝังข้างพระศพพระชายา” นายช่างผู้ออกแบบถูกประหารชีวิตเพื่อไม่ให้ออกแบบสิ่งก่อสร้างให้ที่อื่นอีก นำมาซึ่งสถาปัตยกรรมอิฐศิลาแดงแห่งนี้

ป้อมอัครา สร้างโดยจักรพรรดิโมกุลอักบาร์ ราชโอรสองค์ที่4 ของกษัตริย์ชาหะฮัน ผู้มีชัยชนะในการชิงบัลลังค์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1565 สร้างขึ้นเพื่อยกย่องความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโมกุล เป็นป้อมปราการที่แสดงถึงชัยชนะและความเจริญรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรโมกุล

รูปแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรม

Amar-Singh-Gate-Agra-Fort-India-Uttar.webp Agra-Fort-Rempart.jpg ลักษณะภายนอก สร้างขึ้นจากอิฐศิลาแดง อาคารขนาดใหญ่ ออกแบบพื้นที่แบบ Over scale ล้อมรอบด้วยกำแพงยาว 2.5 กม. ป้อมปราการนี้มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว โดยมีกำแพงด้านตะวันออกขนาบข้างด้วยแม่น้ำยมุนา เป็นอาคารที่สมบูรณ์แบบของศิลปะและสถาปัตยกรรมโมกุล สร้างขึ้นจากหินทรายสีแดงล้วน แสดงถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่

Agra-fort-Agra-India.jpg 597px-Agra-Fort-Column.jpg 1200px-Agra-castle-India-persian-poem.jpg ภายในบริเวณของป้อมอัครา มีสิ่งก่อสร้างที่งดงามโดยใช้สถาปัตยกรรมโมกุลในการประดับตกแต่งอย่างหรูหรา มีความโดดเด่น จากการก่อสร้างด้วยอิฐสีแดงและการแกะสลักลวดลายศิลปะแบบโมกุล ซุ้มโค้งประตูหน้าต่างใช้รูปแบบศิลปะอิสลาม บนป้อมปราการสามารถมองเห็นทัศนียภาพของแม่น้ำยมุนาและทัชมาฮาลได้อย่างงดงาม สถาปัตยกรรมของป้อมอัครา นับเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ มีความโดดเด่น หรูหรา ประณีต มีเอกลักษณ์ เกิดเป็น สถาปัตยกรรมแห่งอารยะธรรมโมกุล

สถาปัตยกรรมโมกุล (Mughal Architecture) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม (Indo-Islamic architecture) ซึ่งพัฒนาขึ้นในสมัยโมกุล ราวคริสต์ศตวรรศที่ 16 ถึง 18 ซึ่งมีอาณาเขตในบริเวณอนุทวีปอินเดีย สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของจักรวรรดิก่อน ๆ ในอินเดีย เช่น สถาปัตยกรรมอิสลาม สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย สถาปัตยกรรมตุรกี และ สถาปัตยกรรมอินเดีย ลักษณะสำคัญคือโดมทรงบัลบัสขนาดใหญ่ หอมินาเรตที่ขอบบาง โถงขนาดมหึมา ทางเข้าที่เป็นหลังคาทรงโค้ง และการตกแต่งที่วิจิตรด้วยการแกะสลักลวดลายลงบนหินศิลาแดง

เกร็ดความรู้

ป้อมอัคราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมรดกโลก จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ปัจจุบันเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในเมืองอัครา รัฐอุตตรประเทศ ห่างจากทัชมาฮาล เพียง 2.5 กิโลเมตร บนหอคอยสามารถมองเห็นทิวทัศน์ทัชมาฮาลอย่างสมบูรณ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สร้างความตรึงตราตรึงใจให้กับผู้มาเยือนอย่างยิ่ง Diwan-E-Aam-Hall-of-Public-Audience.jpg

สถาปัยกรรมที่สำคัญภายนอก ก็คือ อันกุรี บักห์ (Anguri Bagh) – สวนองุ่นที่จัดเรียงอย่างสวยงาม มักคี ภาวัน (Macchi Bhawan) – บริเวณโดยรวมของฮาเร็ม เคยเป็นที่ตั้งของสระน้ำและน้ำพุต่าง ๆ โนบัต กานา (Naubat Khana) หรือ “หอกลอง” สถานที่ประทับเพื่อฟังดนตรี

สถาปัตยกรรมภายในที่สำคัญ ก็คือ ดิวัน-อิ-อัม (Diwan-i-Am) หรือท้องพระโรง – สำหรับใช้ออกว่าราชการทั่วไป ในท้องพระโรงแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของบัลลังก์นกยูงทอง (Peacock Throne) ดิวัน-อิ-กัส (Diwan-i-Khas) หรือท้องพระโรงส่วนพระองค์ – สำหรับใช้เพื่อต้อนรับกษัตริย์ คณะทูตานุทูต และแขกสำคัญเป็นการส่วนพระองค์ หมู่พระราชมณเทียรทอง พระราชมณเทียรที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ด้วยหลังคาทรงกระท่อมแบบเบงกาลี นอกจากนี้ในเมือง อัครา ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามอย่าง มัสยิดจามา (Jama Masjid) สุสานอิตมัดอุดดุลลาห์ (Itmad-ud-Daula) สุสานพระเจ้าอักบาร์มาราช (Tomb of Akbar the Great) ที่ล้วนแต่มีความงดงาม หรูหราและมีเอกลักษณ์ สร้างความประทับใจให้ผู้มาเยือนอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ

britannica

gotogethertravel

expedia

wikipedia

Share บทความไปที่